KnowGaucher.info
คำถามที่พบบ่อย
โรคโกเช่ร์ (Gaucher)
โรคโกเช่ร์ (Gaucher) เป็นโรคกรรมพันธุ์ที่เกิดจากความบกพร่อง (มีไม่เพียงพอ) ของเอนไซม์กลูโคซีรีโบรซิเดส (glucocerebrosidase; GBA)1 สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยีน GBA และเมื่อเอนไซม์นี้มีไม่เพียงพอ ก็จะทำให้เกิดการคั่งของไขมันที่ชื่อว่า กลูโคซีรีโบรไซด์ (glucocerebrosides; GL-1) ในม้าม ตับ ไขกระดูก และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย1 ทำให้มีอาการท้องป่องจากตับม้ามโต โลหิตจาง จำนวนเกล็ดเลือดต่ำ ปวดกระดูก และกระดูกเปราะ2
ชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด และมีผลกระทบต่อร่างกาย โดยที่ไม่กระทบสมอง2
ชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่มีอาการเฉียบพลัน มีความรุนแรงมาก ส่งผลต่อทั้งร่างกายและสมอง2
ชนิดที่ 3 เป็นชนิดที่มีอาการเรื้อรัง มีความรุนแรงได้ปานกลาง ส่งผลต่อร่างกายและสมอง2
การอ้างอิง:
- Sidransky E. Gaucher disease: complexity in a "simple" disorder. Mol Genet Metab. 2004 Sep-Oct;83(1-2):6-15. doi: 10.1016/j.ymgme.2004.08.015.
- Dandana A, Ben Khelifa S, Chahed H, Miled A, Ferchichi S. Gaucher Disease: Clinical, Biological and Therapeutic Aspects. Pathobiology. 2016;83(1):13-23. doi: 10.1159/000440865.
ชื่อเรียกอื่น ๆ ที่ใช้สำหรับโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ได้แก่ :
- ม้ามโตจากโรคโกเช่ร์ (Gaucher splenomegaly)
- ภาวะขาดกลูโคซีรีโบรซิเดส
- กลูโคซีรีโบรซิโดสิส (Glucocerebrosidosis)
- ภาวะขาดกลูโคซิลเซอราไมเดส
- ภาวะขาดกรดเบต้ากลูโคซิเดส
การอ้างอิง:
https://medlineplus.gov/genetics/condition/gaucher-disease/#resources Accessed on 12th April, 2021
สามารถพบโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ได้ในประชากรทั่วโลก โดยโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดที่ 1 สามารถพบได้ประมาณใน 1: 40,000 ถึง 1:60,000 รายของประชากรทั่วโลก1 ซึ่งพบได้บ่อยขึ้นในผู้ที่สืบเชื้อสายยิวอัชเกนัซ สเปน โปรตุเกส สวีเดน กรีก และแอลเบเนีย1 ในขณะที่โรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดที่ 2 และ 3 พบได้ประมาณ 1 ใน 100,000 - 300,000 รายของทารกแรกเกิด2
การอ้างอิง:
- Stirnemann J, Belmatoug N, Camou F, et al. A Review of Gaucher Disease Pathophysiology, Clinical Presentation and Treatments. Int J Mol Sci. 2017;18(2):441. Published 2017 Feb 17. doi:10.3390/ijms18020441.
- Nalysnyk L, Rotella P, Simeone JC, Hamed A, Weinreb N. Gaucher disease epidemiology and natural history: a comprehensive review of the literature. Hematology. 2017 Mar;22(2):65-73. doi: 10.1080/10245332.2016.1240391.
โรคโกเช่ร์ (Gaucher) แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคโกเช่ร์ (Gaucher) โดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 95 ของผู้ป่วยโรคโกเช่ร์ (Gaucher)1 ซึ่งโรคจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย โดยที่ไม่มีความผิดปกติในระบบประสาท โรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่รุนแรงที่สุด เริ่มแสดงอาการเร็ว มีความรุนแรงมากและเฉียบพลัน มีความผิดปกติของร่างกายและระบบประสาท2 โรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดที่ 3 เป็นชนิดที่มีความรุนแรงได้หลากหลาย พบความผิดปกติของร่างกายและระบบประสาท2 เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโกเช่ร์ (Gaucher) แพทย์อาจทำการทดสอบทางพันธุกรรมเพื่อตรวจหาว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มเป็นโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดใด
การอ้างอิง:
- Stirnemann J, Belmatoug N, Camou F, et al. A Review of Gaucher Disease Pathophysiology, Clinical Presentation and Treatments. Int J Mol Sci. 2017;18(2):441. Published 2017 Feb 17. doi:10.3390/ijms18020441.
- Dandana A, Ben Khelifa S, Chahed H, Miled A, Ferchichi S. Gaucher Disease: Clinical, Biological and Therapeutic Aspects. Pathobiology. 2016;83(1):13-23. doi: 10.1159/000440865.
อายุของผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการของโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดที่ 1 ไม่แน่นอน ผู้ป่วยบางรายมีอาการแสดงของโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ตั้งแต่ในวัยเด็ก และบางรายอาจไม่มีอาการจนกระทั่งอายุมากขึ้น หรืออาจไม่มีอาการเลย1 ยิ่งโรคแสดงอาการตั้งแต่อายุน้อยเท่าใด ความรุนแรงของโรคก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น อาการของโรค ได้แก่ ม้ามโตและตับโต (ท้องหรือหน้าท้องโต), โลหิตจาง (ผิวซีดและเหนื่อยง่าย), ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (เกล็ดเลือดต่ำทำให้เกิดรอยฟกช้ำและมีเลือดออกได้ง่าย เช่น เลือดกำเดาไหล), ปวดกระดูก (กระดูกหักง่าย) และกระดูกเปราะ (กระดูกพรุน)1
การอ้างอิง:
- Mignot, C et al (2013). [Handbook of Clinical Neurology] Pediatric Neurology Part III Volume 113 || Gaucher disease, 1709–1715. doi:10.1016/B978-0-444-59565-2.00040-X
โรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่รุนแรงที่สุดในโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ทั้งสามชนิด โดยทำให้มีอาการทางระบบประสาทที่รุนแรงในทารกแรกเกิด เช่น อาการชัก และการเคลื่อนไหวของลูกตาผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอายุขัยสั้นลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยมักเสียชีวิตในช่วงอายุ 2-3 ปี1 มักไม่ตอบสนองต่อการรักษา แม้ว่าจะสามารถช่วยให้ค่าเลือดดีขึ้นและลดขนาดของตับและม้ามก็ตาม2
การอ้างอิง:
- Gupta N, Oppenheim IM, Kauvar EF, Tayebi N, Sidransky E. Type 2 Gaucher disease: phenotypic variation and genotypic heterogeneity. Blood Cells Mol Dis. 2011;46(1):75-84. doi:10.1016/j.bcmd.2010.08.012
- Weiss K, Gonzalez A, Lopez G, Pedoeim L, Groden C, Sidransky E. The clinical management of Type 2 Gaucher disease. Mol Genet Metab. 2015;114(2):110-122. doi:10.1016/j.ymgme.2014.11.008
ผู้ป่วยโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดที่ 3 มักมีอาการตั้งแต่ในวัยเด็ก ซึ่งได้แก่ ม้ามโตและตับโต (ท้องหรือหน้าท้องโต) โลหิตจาง (ผิวซีดและเหนื่อยง่าย) ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (เกล็ดเลือดต่ำทำให้เกิดรอยฟกช้ำและมีเลือดออกได้ง่าย เช่น เลือดกำเดาไหล) ปวดกระดูก (กระดูกหักง่าย) และกระดูกเปราะ (กระดูกพรุน)1 นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการทางระบบประสาท เช่น ชัก เดินเซ (เดินไม่ตรงทาง) และการเคลื่อนไหวของลูกตาผิดปกติ1 เด็กที่เป็นโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดที่ 3 มักกะพริบตาถี่ผิดปกติและมีปัญหาในการกรอกลูกตาจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งโดยไม่หันศีรษะตามสิ่งที่มอง1
การอ้างอิง:
- Dandana A, Ben Khelifa S, Chahed H, Miled A, Ferchichi S. Gaucher Disease: Clinical, Biological and Therapeutic Aspects. Pathobiology. 2016;83(1):13-23. doi: 10.1159/000440865.
สาเหตุ
การกลายพันธุ์ของยีน GBA เป็นสาเหตุของโรคโกเช่ร์ (Gaucher) 1 ยีน GBA อยู่บนแขนด้านยาวของโครโมโซม 1 ที่ region 2 band 1 (1q21)1 มีการค้นพบว่ามีโรคที่แตกต่างกันถึง 300 โรค ที่อาจทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของยีน GBA2
การอ้างอิง:
- Riboldi GM, Di Fonzo AB. GBA, Gaucher Disease, and Parkinson's Disease: From Genetic to Clinic to New Therapeutic Approaches. Cells. 2019;8(4):364. Published 2019 Apr 19. doi:10.3390/cells8040364
- Smith L, Mullin S, Schapira AHV. Insights into the structural biology of Gaucher disease. Exp Neurol. 2017 Dec;298(Pt B):180-190. doi: 10.1016/j.expneurol.2017.09.010.
การกลายพันธุ์ของยีน GBA อาจนำไปสู่ความรุนแรงและอาการของโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ที่แตกต่างกัน
โดยทั่วไป ผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ของยีน GBA 2 ชุด เช่น N370S หรือ R120W มีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงของโรคน้อยกว่าผู้ที่มีการกลายพันธุ์ N370S หรือ R120W เพียงชุดใดชุดหนึ่ง ร่วมกับการกลายพันธุ์อื่น แต่หลักการนี้เป็นเพียงหลักทั่วไปและอาจไม่เป็นจริงเสมอไป2 ผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ N370S หรือ R120W อย่างน้อยหนึ่งชุดจะเป็นโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดที่ 11 ผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์สองชุดที่เรียกว่า L444P หรือ RecNcil มักจะมีอาการรุนแรง โดยมักมีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท เช่น ที่พบในโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดที่ 2 และ 32 เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโกเช่ร์ (Gaucher) แพทย์สามารถทำการทดสอบทางพันธุกรรมเพื่อค้นหาการกลายพันธุ์ของยีน GBA เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดใดมากที่สุด
การอ้างอิง:
- Koprivica V, Stone DL, Park JK, Callahan M, Frisch A, Cohen IJ, Tayebi N, Sidransky E. Analysis and classification of 304 mutant alleles in patients with Type 1 and Type 3 Gaucher disease. Am J Hum Genet. 2000;66:1777-86.
- Wan L, Hsu CM, Tsai CH, Lee CC, Hwu WL, Tsai FJ. Mutation analysis of Gaucher disease patients in Taiwan: high prevalence of the RecNciI and L444P mutations. Blood Cells Mol Dis. 2006 May-Jun;36(3):422-5. doi: 10.1016/j.bcmd.2006.02.001.
อาการ
อาการและอาการแสดงที่สำคัญของโรคโกเช่ร์ (Gaucher) คือ:
- ม้ามโต และ/หรือ ตับโต
- โลหิตจางทำให้อ่อนเพลีย
- เกิดรอยฟกช้ำและเลือดออกได้ง่าย (เนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ)
- ปวดกระดูกหรือกระดูกบาง (ภาวะกระดูกบาง ภาวะกระดูกตาย ภาวะวิกฤตด้านกระดูก)
- ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ/โรคปอดในผู้ป่วยบางราย
ผู้ป่วยที่เป็นโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดที่ 2 หรือ 3 จะมีอาการเหล่านี้ร่วมกับปัญหาทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น อาการชัก หรือการเคลื่อนไหวของลูกตาผิดปกติ
การอ้างอิง:
Pastores GM, Hughes DA. Gaucher Disease. 2000 Jul 27 [Updated 2018 Jun 21]. In: Adam MP, Ardinger HH, Pagon RA, et al., editors. GeneReviews® [Internet]. Seattle (WA): University of Washington, Seattle; 1993-2021. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK1269/
ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดที่ 1 ได้แก่
- ปวดกระดูก/ภาวะหัก
- ตับโตและม้ามโต
- โลหิตจาง (ทำให้อ่อนเพลีย)
- ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (ทำให้เกิดรอยฟกช้ำและเลือดออกได้ง่าย)
- ภาวะกระดูกบาง / กระดูกพรุน (กระดูกเปราะ)
การอ้างอิง:
Pastores GM, Hughes DA. Gaucher Disease. 2000 Jul 27 [Updated 2018 Jun 21]. In: Adam MP, Ardinger HH, Pagon RA, et al., editors. GeneReviews® [Internet]. Seattle (WA): University of Washington, Seattle; 1993-2021. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK1269/
อาการและอาการแสดงที่พบในโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดที่ 2 และ 3 แต่ไม่พบในชนิดที่ 1 คือ:1,2
- อาการชักและความบกพร่องทางสติปัญญา
- กล้ามเนื้อเกร็ง
- ตาเข
- มีปัญหาในการกรอกลูกตาในแนวนอนจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง
- มีปัญหาด้านการประสานงานและการทรงตัวของระบบประสาท
- เดินเซ (เดินไม่ตรงทาง)
- หายใจลำบาก
การอ้างอิง:
- National Disorders of Rare Diseases [updated 2018]. Available from: http://rarediseases.org/rare-diseases/gaucher-disease/ accessed on 13th April, 2021.
- Bremova-Ertl T, Schiffmann R, Patterson MC, Belmatoug N, Billette de Villemeur T, Bardins S, Frenzel C, Malinová V, Naumann S, Arndt J, Mengel E, Reinke J, Strobl R and Strupp M (2018) Oculomotor and Vestibular Findings in Gaucher Disease Type 3 and Their Correlation with Neurological Findings. Front. Neurol. 8:711. doi: 10.3389/fneur.2017.00711
การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
โรคโกเช่ร์ (Gaucher) ทุกชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วยยีนด้อย หมายความว่า ผู้ที่เป็นโรคโกเช่ร์ (Gaucher) จะต้องมียีน GBA ที่มีการกลายพันธุ์ทั้งสองชุด1 โดยทั้งพ่อและแม่ของผู้ป่วยโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ต่างมียีน GBA หนึ่งชุดที่กลายพันธุ์และยีน GBA หนึ่งชุดที่ปกติ1 หากทั้งพ่อและแม่มียีน GBA หนึ่งชุดที่มีการกลายพันธุ์หรือมีการเปลี่ยนแปลงที่ก่อโรค ลูกแต่ละคนจะมีโอกาส 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 ที่จะเป็นโรคโกเช่ร์ (Gaucher) มีโอกาส 2 ใน 4 หรือร้อยละ 50 ที่จะเป็นพาหะ และมีโอกาส 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 ที่จะมียีน GBA ปกติทั้ง 2 ชุด
การอ้างอิง:
Pastores GM, Hughes DA. Gaucher Disease. 2000 Jul 27 [Updated 2018 Jun 21]. In: Adam MP, Ardinger HH, Pagon RA, et al., editors. GeneReviews® [Internet]. Seattle (WA): University of Washington, Seattle; 1993-2021. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK1269/
ผู้ที่เป็นพาหะของโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ไม่ถือว่าเป็นโรค แต่จะถือเป็นเรื่องสำคัญหากจะมีคู่ครองที่เป็นพาหะด้วย แล้วมีลูกด้วยกัน1 ในกรณีนี้ มีโอกาส (ถึงร้อย 25 หรือ 1 ใน 4) ที่จะมีบุตรเป็นโรคโกเช่ร์ (Gaucher)
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นพาหะของโรคโกเช่ร์ (Gaucher) อาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะมีเป็นโรคพาร์กินสัน
การอ้างอิง:
Pastores GM, Hughes DA. Gaucher Disease. 2000 Jul 27 [Updated 2018 Jun 21]. In: Adam MP, Ardinger HH, Pagon RA, et al., editors. GeneReviews® [Internet]. Seattle (WA): University of Washington, Seattle; 1993-2021. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK1269/
การวินิจฉัยและการทดสอบ
แพทย์จะเป็นผู้สั่งตรวจหาโรคโกเช่ร์ (Gaucher) โดยการเจาะเลือด และส่งตัวอย่างเลือดไปยังห้องปฏิบัติการเฉพาะทางเพื่อตรวจระดับของเอนไซม์เบต้า-กลูโคซิเดส หรือ กลูโคซีรีโบรซิเดส หากพบว่าระดับเอนไซม์ต่ำ จะต้องทดสอบทางพันธุกรรมของยีน GBA เพื่อค้นหาการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่ก่อโรคต่อไป แพทย์แผนกเวชพันธุศาสตร์เป็นแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญในการจัดการ ตรวจติดตาม และรักษาผู่ป่วยโรคโกเช่ร์ (Gaucher) หากท่านและครอบครัวต้องการตรวจหาโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ท่านสามารถขอให้แพทย์ทำการทดสอบหรือส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญได้
การอ้างอิง:
National Gaucher Foundation Inc. [Internet] [updated 2016]. https://www.gaucherdisease.org/gaucher-diagnosis-treatment/ Accessed on 14th April, 2021
ในบางประเทศ พ่อแม่สามารถเลือกให้ตรวจหาโรคโกเช่ร์ (Gaucher) โดยใช้เลือดของทารกแรกเกิด1,2 การตรวจนี้มีให้บริการเฉพาะในบางประเทศ ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถสอบถามแพทย์หากต้องการทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับทางเลือกในการตรวจทารกแรกเกิด
การอ้างอิง:
- Hopkins, P.V., Campbell, C., Klug, T., Rogers, S., Raburn-Miller, J., and Kiesling, J. (2015). Lysosomal Storage Disorder Screening Implementation: Findings from the First Six Months of Full Population Pilot Testing in Missouri. The Journal of Pediatrics, 166, 172-177.
- https://www.gaucherdisease.org/gaucher-diagnosis-treatment/testing/ Accessed on 14th April, 2021
การทดสอบเอนไซม์ในเลือดเพื่อวัดปริมาณของกลูโคซีรีโบรซิเดสเป็นวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัยโรคผู้ที่เป็นโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดที่ 1 มักมีระดับเอนไซม์เพียงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับคนปกติ เด็กที่เป็นโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดที่ 2 และ 3 มักจะมีเอนไซม์ที่ทำงานได้เหลือน้อยกว่า (ประมาณร้อยละ 0-15) เมื่อเทียบกับคนปกติ
การอ้างอิง:
Luo XP, Qiu ZQ, Liu YF, et al. [Expert consensus on diagnosis and treatment of pediatric Gaucher disease (2021)]. Chin J Pediatr.2021 Dec;59(12):1025-1031.
ได้แก่ การทดสอบทางการแพทย์ต่อไปนี้
- การตรวจเลือดเพื่อดูเซลล์เม็ดเลือดและเกล็ดเลือด
- การตรวจไขกระดูก
- การตรวจภาพรังสีกระดูก/การสแกนตรวจความหนาแน่นของกระดูก
- สแกนเพื่อวัดขนาดตับและม้าม (MRI/CT)
การอ้างอิง:
Pastores GM, Hughes DA. Gaucher Disease. 2000 Jul 27 [Updated 2018 Jun 21]. In: Adam MP, Ardinger HH, Pagon RA, et al., editors. GeneReviews® [Internet]. Seattle (WA): University of Washington, Seattle; 1993-2021. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK1269/
การตรวจไขกระดูกของผู้ป่วยโรคโกเช่ร์ (Gaucher) มักพบมาโครฟาจที่กินไขมัน ('เซลล์โกเช่ร์') ซึ่งมีลักษณะไซโทพลาสซึมยับย่นและนิวเคลียสที่ไม่อยู่กลางเซลล์1 เซลล์นี้จะย้อมติดสี periodic acid-Schiff (PAS) reagent2 แม้ว่าการตรวจไขกระดูกจะสามารถบ่งชี้ถึงผู้ที่เป็นโรคโกเช่ร์ (Gaucher) แต่ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้ เนื่องจากการทดสอบเอนไซม์ในเลือดเพื่อวัดปริมาณของกลูโคซีรีโบรซิเดสเป็นวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัยโรคโกเช่ร์ (Gaucher) 3
การอ้างอิง:
- de Fost M, Aerts JM, Hollak CE. Gaucher disease: from fundamental research to effective therapeutic interventions. Neth J Med. 2003 Jan;61(1):3-8.
- Ferreira CR, Gahl WA. Lysos.omal storage diseases. Transl Sci Rare Dis. 2017;2(1-2):1-71. Published 2017 May 25. doi:10.3233/TRD-160005
- Nagral A. Gaucher disease. J Clin Exp Hepatol. 2014;4(1):37-50. doi:10.1016/j.jceh.2014.02.005
การทดสอบเอนไซม์ให้ผลทีไม่น่าเชื่อถือในการตรวจหาพาหะ เนื่องจากระดับเอนไซม์ของพาหะอาจไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้เป็นพาหะ การตรวจหาพาหะของโรคโกเช่ร์ (Gaucher) จะใช้วิธีตรวจพันธุกรรม ซึ่งจะตรวจหาการกลายพันธุ์ในยีน GBA ซึ่งโดยปกติการทดสอบยีน GBA จะเรียกว่า sequencing (การหาลำดับ) และตรวจดู DNA bases ทั้งหมดในยีน GBA
การอ้างอิง:
Pastores GM, Hughes DA. Gaucher Disease. 2000 Jul 27 [Updated 2018 Jun 21]. In: Adam MP, Ardinger HH, Pagon RA, et al., editors. GeneReviews® [Internet]. Seattle (WA): University of Washington, Seattle; 1993-2021. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK1269/
การอ้างอิง:
Zuckerman S, Lahad A, Shmueli A, Zimran A, Peleg L, Orr-Urtreger A, Levy-Lahad E, Sagi M. Carrier screening for Gaucher disease: lessons for low-penetrance, treatable diseases. JAMA. 2007;298:1281-90.
การรักษา
มีวิธีที่ได้รับอนุมัติสำหรับรักษาโรคโกเช่ร์ (Gaucher) หลายวิธี การรักษาวิธีหนึ่งคือการให้เอนไซม์ทดแทน (Enzyme Replacement Therapy; ERT)1 เพื่อทดแทนเอนไซม์ที่ขาดในโรคโกเช่ร์ (Gaucher)1 ยาลดการสะสมของของเสียภายในเซลล์ (Substrate reduction therapy; SRT) เป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับการอนุมัติโดยขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย1 แต่น่าเสียดายที่ยังไม่มียาตัวใดที่สามารถซึมผ่านเข้าสู่สมอง จึงยังไม่มียาตัวใดที่สามารถแก้ไขอาการทางระบบประสาทที่พบในโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ชนิดที่ 2 และชนิดที่ 32
การอ้างอิง:
- Nalysnyk L, Sugarman R, Cele C, Uyei J, Ward A. Budget Impact Analysis of Eliglustat for the Treatment of Gaucher Disease Type 1 in the United States. J Manag Care Spec Pharm. 2018 Oct;24(10):1002-1008. doi: 10.18553/jmcp.2018.24.10.1002.
- https://www.gaucherdisease.org/gaucher-diagnosis-treatment/ Accessed on 14th April, 2021
การให้เอนไซม์ทดแทน (ERT) เป็นการรักษาโดยให้เอนไซม์สังเคราะห์แก่ร่างกาย เพื่อกำจัดของเสีย (ไขมัน) ที่ถูกสะสมอยู่ในเซลล์ของร่างกาย (ไลโซโซม) ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการของโรคโกเช่ร์ (Gaucher)
การอ้างอิง:
Stirnemann J, Belmatoug N, Camou F, et al. A Review of Gaucher Disease Pathophysiology, Clinical Presentation and Treatments. Int J Mol Sci. 2017;18(2):441. Published 2017 Feb 17. doi:10.3390/ijms18020441
ยาลดการสะสมของของเสียภายในเซลล์ (SRT) เป็นยารับประทานที่ออกฤทธิ์โดยลดปริมาณสารตั้งต้น ที่ชื่อว่า จีแอล-1 ซึ่งจะถูกเปลี่ยนไปเป็นของเสียในที่สุด โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการสะสมของสารตั้งต้น จีแอล-1 ให้อยู่ในระดับที่ร่างกายสามารถกำจัดออกได้เองด้วยเอนไซม์ในร่างกายตามธรรมชาติเท่าที่มีอยู่
การอ้างอิง:
Dwek RA, Butters TD, Platt FM, Zitzmann N. Targeting glycosylation as a therapeutic approach. Nat Rev Drug Discov. 2002;1:65-75.
การรักษาตามอาการของโรคโกเช่ร์ (Gaucher) จะขึ้นอยู่กับชนิดของโรค การรักษาทั่วไปประกอบด้วย 3 อย่าง ได้แก่:
- ยาลดอาการปวดกระดูก
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเพื่อบรรเทาอาการปวดเรื้อรังและทำให้ข้อได้กลับมาใช้งานได้
- ยาบิสฟอสโฟเนต และ แคลเซียม สำหรับรักษาโรคกระดูกพรุน
- ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- การให้เลือด
การอ้างอิง:
Pastores GM, Hughes DA. Gaucher Disease. 2000 Jul 27 [Updated 2018 Jun 21]. In: Adam MP, Ardinger HH, Pagon RA, et al., editors. GeneReviews® [Internet]. Seattle (WA): University of Washington, Seattle; 1993-2021. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK1269/
ผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) ในระดับปานกลางถึงรุนแรง ควรหลีกเลี่ยงยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกได้
การอ้างอิง:
Risser A, NSAID Prescribing precautions, 2009 American Family Physician 80 (12)
การวิจัย/การศึกษาทางคลินิก
วิธีที่ง่ายที่สุดในการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยและการทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับโรคโกเช่ร์ (Gaucher) คือการสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ซึ่งผู้ป่วยและครอบครัวสามารถขอให้แพทย์ส่งต่อผู่ป่วยเพื่อไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคโกเช่ร์ (Gaucher)
วิธีที่ง่ายที่สุดในการหาข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดรับผู้เข้าร่วมการทดลองทางคลินิกของโรคโกเช่ร์ คือการสอบถามจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ซึ่งผู้ป่วยและครอบครัวสามารถขอให้แพทย์ส่งต่อผู่ป่วยเพื่อไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคโกเช่ร์ (Gaucher)
การอยู่ร่วมกับโรคโกเช่ร์ (Gaucher)
การรักษาโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ให้หายขาดจะเป็นการรักษาเพียงครั้งเดียวซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาทางการแพทย์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับโรค ซึ่งปัจจุบัน มีการรักษาระยะยาวสำหรับโรคโกเช่ร์ (Gaucher) แต่่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้1
โดยกำลังมีการศึกษาเกี่ยวกับการรักษาที่ต้นเหตุของโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ที่อาจนำไปสู่การหายขาดจากโรคหรืออย่างน้อยก็ทำให้โรค "สงบลง" การรักษาเหล่านี้รวมถึงการบำบัดโดยใช้ยีน ซึ่งอาจช่วยเพิ่มหรือทดแทนยีน GBA ที่ไม่ทำงาน ส่งผลให้ร่างกายสร้างเอนไซม์ได้เอง1 การวิจัยอื่น ๆ ได้แก่ เทคโนโลยีการแก้ไขยีนที่เรียกว่า CRISPR ซึ่งจะทำหน้าที่เสมือน "การตรวจตัวสะกด" และแก้ไขการเปลี่ยนแปลงหรือการกลายพันธุ์ของยีน GBA ให้เป็นปกติ2
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาและงานวิจัยเกี่ยวกับโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ท่านสามารถขอให้แพทย์ส่งต่อผู้ป่วยไปยังผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคโกเช่ร์ (Gaucher)
การอ้างอิง:
- Shawky RM and Elsayed SM, Treatment options for patients with Gaucher disease. 2016. Egyptian Journal of Medical Human Genetics 17 (3) 281-285
- Pavan E, Ormazabal M, Peruzzo P, Vaena E, Rozenfeld P, Dardis A. CRISPR/Cas9 Editing for Gaucher Disease Modelling. Int J Mol Sci. 2020 May 5;21(9):3268. doi: 10.3390/ijms21093268.
ผู้หญิงจำนวนมากที่เป็นโรคโกเช่ร์ (Gaucher) สามารถตั้งครรภ์และมีลูกที่แข็งแรง เนื่องจากการตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อการดำเนินโรค ดังนั้น ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนตั้งครรภ์ (หรือทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์) เพื่อการดูแลการตั้งครรภ์อย่างเหมาะสมที่สุด1 การตั้งครรภ์อาจทำให้อาการของโรคโกเช่ร์ (Gaucher) แย่ลง และอาจกระตุ้นให้เกิดอาการใหม่ เช่น อาการปวดกระดูก ผู้หญิงที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำอย่างรุนแรง และ/หรือ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ อาจเสี่ยงที่จะเสียเลือดในระหว่างคลอด2 ดังนั้น การหารือร่วมกันกับสูติแพทย์เพื่อจัดการความเสี่ยงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับแม่และทารก
การอ้างอิง:
- Elstein Y, Eisenberg V, Granovsky-Grisaru S, Rabinowitz R, Samueloff A, Zimran A, Elstein D. Pregnancies in Gaucher disease: a 5-year study. Am J Obstet Gynecol. 2004b;190:435-41.
- Fasouliotis SJ, Ezra Y, Schenker JG. Gaucher's disease and pregnancy. Am J Perinatol. 1998 May;15(5):311-8. doi: 10.1055/s-2007-993950.
ยังไม่ทราบตัวเลขความเสี่ยงที่แน่นอนของผู้ป่วยโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ต่อการเกิดโรคพาร์กินสัน แต่มีการประมาณว่าความเสี่ยงจะสูงกว่าคนทั่วไปประมาณ 20 ถึง 30 เท่า1
พบการกลายพันธุ์ของยีน GBA ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันประมาณร้อยละ 5-102 อาการของโรคพาร์กินสันในผู้ป่วยโรคโกเช่ร์ (Gaucher) ไม่แตกต่างจากโรคพาร์กินสันโดยทั่วไป แม้ว่าโรคพาร์กินสันในผู้ป่วยโรคโกเช่ร์ (Gaucher) จะเริ่มมีอาการปรากฏเร็วกว่าโรคพาร์กินสันทั่วไปเล็กน้อย (เร็วขึ้นประมาณ 5 ปี) และพบความผิดปกติด้านสติปัญญาบ่อยกว่า3
การอ้างอิง:
- Orphanet J Rare Dis. 2020 Sep 23;15(1):262. doi: 10.1186/s13023-020-01529-y.
- Sidransky E, Nalls MA, Aasly JO, et al. Multicenter analysis of glucocerebrosidase mutations in Parkinson's disease. N Engl J Med. 2009;361:1651-61
- Neumann J, Bras J, Deas E, et al. Glucocerebrosidase mutations in clinical and pathologically proven Parkinson's disease. Brain. 2009;132:1783-94.
โดยทั่วไปผู้ที่เป็นพาหะของโรคโกเช่ร์ (Gaucher) มักมีสุขภาพแข็งแรง แต่อาจจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคพาร์กินสันสูงขึ้น
การอ้างอิง:
- McNeill A, Duran R, Hughes DA, Mehta A, Schapira AH. A clinical and family history study of Parkinson's disease in heterozygous glucocerebrosidase mutation carriers. J Neurol Neurosurg Psychiatry. 2012;83:853-4.
SymptomMatcher
ตอบคำถาม 2-3 ข้อเพื่อประเมินโอกาสที่ท่านจะเป็นโรคโกเช่ร์ (Gaucher)
ประกาศและการจำกัดความรับผิดชอบ: Symptom Matcher ไม่สามารถทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์และไม่สามารถใช้แทนคำปรึกษาของบุคลากรทางการแพทย์ Symptom Matcher มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการให้ข้อมูลสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคโกเช่ร์ (Gaucher) และความเสี่ยงของการเกิดโรคเท่านั้น กรุณาโทรสายด่วนฉุกเฉินในเขตพื้นที่ของท่านหากท่านประสบเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์
Symptom Matcher ที่นำเสนอนี้ได้รับความร่วมมือจาก ThinkGenetic และการใช้เครื่องมือนี้อยู่ภายใต้ นโยบายความเป็นส่วนตัวของ ThinkGenetic .
ดูเหมือนว่าท่านเคยเริ่มใช้ SymptomMatcher มาแล้ว ท่านต้องการกลับไปต่อในส่วนล่าสุดที่ท่านเข้าใช้งานหรือไม่?
{{ q1prompt }}